วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

<>

ประวัติตะกร้อ

<><>
<><>
<><>
<><>
<>
<>
<><>
<>
<>
<>
<>
<>

ประวัติตะกร้อ

<>
<>

 


<>
<><>
<><>
<>
               ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น
ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด
จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้ รายได้เสริมทำออนไลด์ผ่าน net 100% รายได้
5 หมื่น บ/ด ขั้นต่ำ สมัครที่
www.abc.321.cn

          - ประเทศพม่า
เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน
ซึ่งทางพม่าเรียกว่า "ชิงลง"


          - ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า
ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า


          - ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak

          -
ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่
ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน
ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่
แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K'au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่


          - ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน
แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก


          - ประกาศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน
และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด

ประวัติตะกร้อในประเทศไทย

          ในสมัยโบราณนั้นประเทศไทยเรามีกฎหมายและวิธีการลงโทษผู้กระทำความผิด
โดยการนำเอานักโทษใส่ลงไปในสิ่งกลมๆที่สานด้วยหวายให้ช้างเตะ
แต่สิ่งที่ช่วยสนับสนุนประวัติของตะกร้อได้ดี คือ
ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ 2
ในเรื่องมีบางตอนที่กล่าวถึงการเล่นตะกร้อ
และที่ระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเขียนเรื่องรามเกียรติ์
ก็มีภาพการเล่นตะกร้อแสดงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้


 
         
โดยภูมิศาสตร์ของไทยเองก็ส่งเสริมสนับสนุนให้เราได้ทราบประวัติของตะกร้อ
คือประเทศของเราอุดมไปด้วยไม้ไผ่ หวายคนไทยนิยมนำเอาหวายมาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้
รวมถึงการละเล่นพื้นบ้านด้วย อีกทั้งประเภทของกีฬาตะกร้อในประเทศไทยก็มีหลายประเภท
เช่น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อชิงธงและการแสดงตะกร้อพลิกแพลงต่างๆ
ซึ่งการเล่นตะกร้อของประเทศอื่นๆนั้นมีการเล่นไม่หลายแบบหลายวิธีเช่นของไทยเรา


 
         
การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า,
หนังสัตว์, หวาย, จนถึงประเภทสังเคราะห์ (พลาสติก)


 
ความหมาย

 
          คำว่าตะกร้อ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525
ได้ให้คำจำกัดความเอาไว้ว่า "ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา สำหรับเตะ"


 
วิวัฒนาการการเล่น

 
          การเล่นตะกร้อได้มีวิวัฒนาการในการเล่นมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยแรกๆ
ก็เป็นเพียงการช่วยกันเตะลูกไม่ให้ตกถึงพื้นต่อมาเมื่อเกิดความชำนาญและหลีกหนีความจำเจ
ก็คงมีการเริ่มเล่นด้วยศีรษะ เข่า ศอก ไหล่
มีการจัดเพิ่มท่าให้ยากและสวยงามขึ้นตามลำดับ
จากนั้นก็ตกลงวางกติกาการเล่นโดยเอื้ออำนวยต่อผู้เล่นเป็นส่วนรวม
อาจแตกต่างไปตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่
แต่คงมีความใกล้เคียงกันมากพอสมควร


 
ตะกร้อนั้นมีมากมายหลายประเภท เช่น

 
          - ตะกร้อข้ามตาข่าย
          - ตะกร้อลอดบ่วง
          -
ตะกร้อพลิกแพลงเป็นต้น


 
         
เมื่อมีการวางกติกาและท่าทางในการเล่นอย่างลงตัวแล้วก็เริ่มมีการแข่งขันกันเกิดขึ้นในประเทศไทยตาม


 
ประวัติของการกีฬาตะกร้อตั้งแต่อดีตที่ได้บันทึกไว้ดังนี้

 
          พ.ศ. 2472 กีฬาตะกร้อเริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกภายในสมาคมกีฬาสยาม

 
          พ.ศ. 2476
สมาคมกีฬาสยามประชุมจัดร่างกติกาในการแข่งขันกีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายและเปิดให้มีการแข่งขันในประเภทประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรก


 
          พ.ศ. 2479
ทางการศึกษาได้มีการเผยแพร่จัดฝึกทักษะในโรงเรียนมัธยมชายและเปิดให้มีแข่งขันด้วย


 
          พ.ศ. 2480 ได้มีการประชุมจัดทำแก้ไขร่างกฎระเบียบให้สมบูรณ์ขึ้น
โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของ เจ้าพระยาจินดารักษ์
และกรมพลศึกษาก็ได้ออกประกาศรับรองอย่างเป็นทางการ


 
          พ.ศ. 2502 มีการจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ขึ้นที่กรุงเทพฯ
มีการเชิญนักตะกร้อชาวพม่ามาแสดงความสามารถในการเล่นตะกร้อพลิกแพลง


 
          พ.ศ. 2504 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 2
ประเทศพม่าได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน
นักตะกร้อของไทยก็ได้ไปร่วมแสดงโชว์การเตะตะกร้อแบบพลิกแพลงด้วย


 
          พ.ศ. 2508 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย
ได้มีการบรรจุการเตะตะกร้อ 3 ประเภท เข้าไว้ในการแข่งขันด้วยก็คือ


 
          - ตะกร้อวง
          - ตะกร้อข้ามตาข่าย
          -
ตะกร้อลอดบ่วง


 
         
อีกทั้งมีการจัดประชุมวางแนวทางด้านกติกาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อสะดวกในการเล่นและการเข้าใจของผู้ชมในส่วนรวมอีกด้วย


 
          พอเสร็จสิ้นกีฬาแหลมทองครั้งที่ 3
กีฬาตะกร้อได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก
บทบาทของประเทศมาเลเซียก็เริ่มมีมากขึ้น
จากการได้เข้าร่วมในการประชุมตั้งกฎกติกากีฬาตะกร้อประเภทข้ามตาข่าย
หรือที่เรียกว่า "เซปักตะกร้อ" และส่งผลให้กีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย
ได้รับการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 จนถึงปัจุบัน

สนามแข่งขัน
สนามแข่งขันขนาดมาตรฐาน
สนามแข่งขันเซปักตะกร้อ มีรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 2 เท่าของสนามแบดมินตัน มีความยาว 13.4 เมตร กว้าง 6.1 เมตร เพดานหรือสิ่งกีดขวางอื่นใด ต้องอยู่สูงกว่าสนามไม่น้อยกว่า 8 เมตร จากพื้นสนาม (ไม่เป็นพื้นหญ้า หรือพื้นทราย) และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางอื่นใดในระยะ 3 เมตรจากขอบสนามโดยรอบ
ความกว้างของเส้นขอบทั้งหมดวัดจากด้านนอกเข้ามาไม่เกิน 4 เซนติเมตร ส่วนเส้นแบ่งแดนความกว้างไม่เกิน 2 เซนติเมตร โดยลากเส้นแบ่งแดนทั้ง 2 ข้างออกตามแนวขวาง แนวเส้นทับพื้นที่ของแต่ละแดนเท่าๆกัน เส้นขอบทั้งหมดนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของแดนสำหรับผู้เล่นแต่ละฝ่าย
ปลายของเส้นแบ่งแดน ใช้เป็นจุดศูนย์กลางลากเส้นโค้งวงกลมความกว้างเส้น 4 เซนติเมตร โดยขอบในของเส้นดังกล่าวมีรัศมี 90 เซนติเมตร กำหนดไว้เป็นตำแหน่งยืนของผู้เล่นหน้าซ้าย และหน้าขวา ในขณะที่ส่งลูก
ในแดนทั้งสอง มีวงกลมซึ่งกำหนดเป็นจุดยืนสำหรับผู้ส่งลูก โดยเส้นที่วาดวงกลมขอบในมีรัศมี 30 เซนติเมตร ความกว้างของเส้นคือ 4 เซนติเมตร จุดศูนย์กลางอยู่ทีระยะ 2.45 เมตร จากเส้นหลังของแต่ละแดน และอยู่กึ่งกลางตามแนวกว้างของสนาม

[แก้] ตาข่าย

ตาข่ายจะถูกขึงกั้นแบ่งแดนทั้งสองออกจากกัน ทำจากวัสดุจำพวกเชือกหรือไนลอน ความสูงของตาข่ายบริเวณกึ่งกลาง คือ 1.52 เมตรสำหรับนักกีฬาชาย (1.42 เมตรสำหรับนักกีฬาหญิง) ส่วนความสูงบริเวณเสายึดตาข่าย คือ 1.55 เมตรสำหรับนักกีฬาชาย (1.45 เมตรสำหรับนักกีฬาหญิง)
ตาข่ายมีขนาดรู 6 - 8 เซนติเมตร ผืนตาข่ายมีความกว้าง 70 เซนติเมตร และยาวไม่น้อยกว่า 6.1 เมตร
ลักษณะการเล่นรูปแบบอื่น
ตะกร้อหวาย
การเล่นตะกร้อยังสามารถเล่นได้หลายแบบ ดังนี้
  • การเล่นเป็นทีม ผู้เล่นจะล้อมเป็นวง ผู้เริ่มต้นจะใช้เท้าเตะลูกตะกร้อไปให้อีกผู้หนึ่งรับ ผู้รับจะต้องมีความว่องไวในการใช้เท้ารับและเตะส่งไปยังอีกผู้หนึ่ง จึงเรียกวิธีเล่นนี้ว่า "เตะตะกร้อ" ความสนุกอยู่ที่การหลอกล่อที่จะเตะไปยังผู้ใด ถ้าผู้เตะทั้งวงมีความสามารถเสมอกัน จะโยนและรับไม่ให้ตะกร้อถึงพื้นได้เป็นเวลานานมาก กล่าวกันว่าทั้งวันหรือทั้งคืนก็ยังมี แต่ผู้เล่นยังไม่ชำนาญก็โยนรับได้ไม่กี่ครั้ง ลูกตะกร้อก็ตกถึงพื้น
  • การติดตะกร้อ (เล่นเดี่ยว) การเล่นตะกร้อที่มีชื่อเสียงมากของไทยคือ การติดตะกร้อ เป็นศิลปะการเล่นตะกร้อ คือ เตะตะกร้อให้ไปติดอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และต้องถ่วงน้ำหนักให้อยู่นาน แล้วใช้อวัยวะส่วนนั้นส่งไปยังส่วนอื่น โดยไม่ให้ตกถึงพื้น เช่น การติดตะกร้อที่หลังมือ ข้อศอก หน้าผาก จมูก เป็นต้น นับว่าเป็นศิลปที่น่าชม ผู้เล่นต้องฝึกฝนอย่างมาก
  • ตะกร้อติดบ่วง การเตะตะกร้อติดบ่วง ใช้บ่วงกลมๆแขวนไว้ให้สูงสุด แต่ผู้เล่นจะสามารถเตะให้ลอดบ่วงไปยังผู้อื่นได้ กล่าวกันว่าบ่วงที่เล่นเคยสูงสุดถึง 7 เมตร และยิ่งเข้าบ่วงจำนวนมากเท่าไรยิ่งแสดงถึงความสามารถ      

  •     ประเภทของกีฬาตะกร้อ
                การเล่นตะกร้อในประเทศไทยเท่าที่ปรากฏมาแต่เดิมจนถึงปัจจุบันมีอยู่
    ๘ ประการด้วยกันคือ

                    ๑.      ตะกร้อวงเล็ก
                    ๒.    ตะกร้อวงใหญ่
                    ๓.    ตะกร้อเตะทน
                    ๔.    ตะกร้อพลิกแพลง
                    ๕.    ตะกร้อชิงธง
                     ๖.     ตะกร้อลอดห่วง
                     ๗.    ตะกร้อข้ามตาข่าย
                     ๘.    เซปัก ตะกร้อ



    ๑.ตะกร้อวงเล็ก

    ตะก้อวงนับเป็นการเริ่มแรกของรูปแบบการเล่นตะกร้อ
    ซึ่งอาจใช้ผู้เล่นเพียงคนเดียว เตะหรือเดาะลูก
    เล่นให้ลูกลอยอยู่ในอากาศและใช้อวัยวะหลายๆ ส่วนที่แตกต่างกันเตะหรือเดาะลูก
    โดยใช้ทั้งเท้า เข่า ศอก ศีรษะ ต่อมาอาจมีผู้เล่นเพิ่มเป็น ๒ คน
    มีการโยนให้ผู้ยืนอยู่ตรงข้ามเตะโต้กันเป็นเวลานานๆ
    โดยทั่วไปแล้วผู้เตะมักจะเตะลูกที่ตนถนัด เช่น ลูกแป ลูกหลังเท้า ลูกโหม่ง เป็นต้น
    การเล่นตะกร้อวงเล็กนั้นจะเล่นในบริเวณที่แคบๆ เช่น บนโต๊ะ
    หรือสนามซึ่งเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒
    ๓ เมตร

    ๒.
    ตะกร้อวงใหญ่

                    ลักษณะและรูปแบบการเล่นเหมือนกับการเล่นตะกร้อวงเล็ก
    ต่างกันตรงที่สถานที่เล่นและจำนวนผู้เล่น กล่าวคือ
    ตะกร้อวงใหญ่จะเล่นในสนามเรียบมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๘
    ๑๔ เมตร ซึ่งอยู่กับผู้เล่นว่าจะมีจำนวนเท่าใด
    โดยปกแล้วจะมีผู้เล่นตั้งแต่ ๕

    ๘ คน ท่าทางการเล่นนั้นก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการเล่นตะกร้อวงเล็ก
    แต่ตะกร้อวงใหญ่ต้องออกแรงเตะลูกหรือส่งลูกมากกว่า มิฉะนั้นตะกร้อจะไม่ถึงผู้รับ
    ผู้เล่นต้องระมัดระวังจังหวะการเล่น ท่าทางต่างๆ
    ตลอดจนน้ำหนักหรือแรงเหวี่ยงให้เหมาะสม

    ๓.
    ตะกร้อเตะทน

                    ตะกร้อเตะทนหรือตะกร้อวงเตะทน
    มักนิยมเล่นแข่งขันกันเป็นทีม
    จึงควรศึกษาไว้เพื่อนำไปเล่นกันต่อไป

    ๔.
    ตะกร้อพลิกแพลง

                    ตะกร้อพลิกแพลง
    หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
    การติดตะกร้อ
    การเล่นตะกร้อแบบนี้ผู้เล่นต้องมีความชำนาญเป็นอย่างดี
    เพราะลูกที่ผู้เตะจะเตะแต่ละท่า ดัดแปลงมาจากท่าธรรมดา
    การเล่นตะกร้อพลิกแพลงนี้ส่วนมากไม่ทำการแข่งขัน
    เป็นเพียงเล่นกันเพื่ออวดลวดลายในการเตะเพื่อดูกันแปลกๆ
    และเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินกันเท่านั้น วิธีเล่นก็ตั้งวงเหมือนตะกร้อวง
    แต่ไม่ต้องขีดเส้นเหมือนตะกร้อวง ผู้เล่นจะมีตั้งแต่ ๒
    ๘ คน
    แต่ละคนก็จะเตะหรือใช้กระบวนท่าส่งลูกไปยังคู่ ซึ่งคู่โต้ก็จะแสดงท่าพลิกแพลงต่างๆ
    ในลักษณะที่เรียกกันว่า
    ติดตะกร้อ

    สักระยะเวลาหนึ่งแล้วก็จะส่งกลับไปยังผู้เล่นอื่นบ้าง
    ซึ่งผู้เล่นร่วมวงคนอื่นก็จะแสดงท่าพลิกแพลงที่แตกต่างกันออกไปอีก เช่น
    รับลูกตะกร้อที่ส่งมาด้วยหลังเท้าแล้วเตะลูกไม่ให้ตก
    จากนั้นก็เตะส่งลูกขึ้นไปติดค้างกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ข้อพับ ขาหนีบ ซอกคอ
    ต้นคอ หน้าขา
    หรือสงบนิ่งอยู่บนหลังเท้าและเมื่อได้จังหวะอีกก็เตะลูกใหม่ไปติดค้างอยู่ตามร่างกายส่วนอื่นๆ
    ได้อีก ผู้เล่นที่ชำนาญจะติดตะกร้อได้ตั้งแต่หนึ่งลูก ไปจนถึง ๑๗
    ลูกก็มี

    ๕.
    ตะกร้อชิงธง

                    ตะกร้อชิงธงหรือตะกร้อเตะช่วงชัย
    เป็นการแข่งขันตะกร้ออีกวิธีหนึ่ง คล้ายการแข่งขันวิ่งวัวหรือวิ่งเร็ว
    โดยขีดเส้นด้วยปูนขาวลงบนพื้น ทำเป็นช่องทางกว้างประมาณ ๓ เมตร ยาวประมาณ ๕๐ เมตร
    เมื่อผู้เข้าแข่งขันยืนประจำที่เส้นเริ่มต้น
    จากนั้นเมื่อได้ยินสัญญาณให้เลี้ยงตะกร้อด้วยอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ยกเว้นมือ
    โดยพยายามพาลูกตะกร้อไปยังปลายทาง ซึ่งมีเส้นชัย มีธงปักไว้เป็นเครื่องหมาย
    ถ้าผู้เล่นคนใดสามารถเลี้ยงตะกร้อโดยไม่ออกนอกลู่
    และไม่ตกพื้นจนกระทั่งถึงเส้นชัยก่อนจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน



    ๖.
    ตะกร้อลอดห่วง

                    ตะกร้อลอดห่วง
    มักเรียกวันหลายชื่อ เช่น ตะกร้อลอดบ่วง ตะกร้อห่วงชัย หลวงมงคลแมน ( สังข์
    บูรณะศิริ ) เป็นผู้ริเริ่มคิดขึ้นราวช่วง พ.ศ. ๒๔๗๐
    ๒๔๗๕ เริ่มมีการแข่งขึ้นครั้งแรกราว พ.ศ. ๒๔๗๖
    ตะกร้อลอดห่วงมีผู้เล่น ๗ คน สำรอง ๓ คน
    สนามสำหรับสำหรับแข่งเป็นพื้นราบอยู่ในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้
    ในขณะที่เล่นจะเปลี่ยนตัวผู้เล่นไม่ได้ จะเปลี่ยนได้ในคราวแข่งขันคราวต่อไป
    มีลวดสปริงขึงไว้ระหว่างเสาทั้งสองต้นซึ่งห่างกันประมาณ ๒๐ เมตร
    ลวดสปริงที่ขึงนั้นสูงจากพื้น ๘ เมตร มีรอกสำหรับแขวนห่วง ๑ ตัว
    อยู่กึ่งกลางลวดสปริงห่วงชัยประกอบด้วยวงกลม ๓ ห่วง ขนาดเท่ากัน จะทำด้วยโลหะ หวาย
    หรือไม้ก็ได้ ขอบล่างของห่วงต้องได้ระดับ สูงจากพื้นสนาม ๕.๗๕ เมตร
    เวลาลูกตะกร้อเข้าห่วง ให้หย่อนลงมาเพื่อนะลูกตะกร้อจากถุงห่วงและโยนขึ้นเล่นใหม่
    มีผู้ชักรอก ๑ คน ใช้เวลาในการแข่งขันครั้งละ ๕๐ นาที ไม่มีพัก ผู้เล่นทั้ง ๗ คน
    ยืนเป็นวงห่างกันพอสมควร
    การเตะลูกตะกร้อเข้าห่วงทำได้ทุกคนจะเตะลูกตะกร้อท่าใดก็ได้และมีคะแนนให้ทุกท่าและทุกลูกที่เข้าห่วง
    โดยให้คะแนนตามความยากง่ายของแต่ละท่า
    คณะตะกร้อชุดใดได้คะแนนมากในเวลาที่กำหนดเป็นฝ่ายชนะ
                              รายละเอียดเกี่ยวกับกติกาการแข่งขันตะกร้อลอดห่วง
    ศึกษาได้จากสมาคมกีฬาไทยพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย
    หรือที่สำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย ทุกแห่ง



    ๗.
    ตะกร้อข้ามตาข่าย

                    การเล่นตะกร้อข้ามตาข่ายแบบไทยนี้
    เนื่องจากมีนักตะกร้อและนักแบดมินตันบางท่าน ซึ่งมี
    หลวงสำเร็จวรรณกิจ ขุนจรรยาวิฑิต นายผล
    ผลาสินธุ์
     
    และนายยิ้ม
    ศรีหงส์
    เป็นคณะผู้ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.
    ๒๔๗๒ โดยพยายามการเล่นตะกร้อกับแบดมินตันเข้าด้วยกันและเรียกกีฬาใหม่นี้ว่า
    ตะกร้อข้ามตาข่าย
    โดยมีการนับคะแนนแบบแบดมินตัน จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๕
    สมาคมกีฬาสยามซึ่งเป็นชื่อสมาคมในสมัยนั้น บัดนี้เปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมกีฬาไทย
    ได้ขอให้หลวงคุณวิชาสนอง ร่างกติกาตะกร้อข้ามตาข่ายขึ้น และ พ.ศ. ๒๔๗๖
    จึงจัดให้มีการแข่งขันตะกร้อข้ามตาข่ายระหว่างประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรกในงานฉลองรัฐธรรมนูญ
    ประจำปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ปรากฏว่าต่อมามีผู้นิยมเล่นกันมากและแพร่หลายกันมากขึ้นตามลำดับ
    จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๙
    กรมพลศึกษาจึงจัดให้มีการแข่งขันตะกร้อข้ามตาข่ายระหว่างนักเรียนขึ้นเป็นครั้งแรก



    ๘.
    เซปักตะกร้อ

                    เซปักตะกร้อหรือตะกร้อข้ามตาข่ายแบบสากล
    เป็นกีฬาที่ได้พัฒนามาจนเป็นที่แพร่หลายไปเกือบทั่วโลก
     
    ประเทศมาเลเซียเป็นผู้คิดค้นกติกาการเล่น
    ซึ่งลักษณะการเล่นเซปักตะกร้อคล้ายกับการเล่นตะกร้อข้ามตาข่ายของไทย
    แต่ต่างกันตรงรูปแบบ สนาม การเล่นลูก การนับคะแนน
    และกติกาการแล่น
                               ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘
    ในช่วงฤดูการแข่งขันกีฬาไทย ซึ่งมีการแข่งขันว่าว กระบี่กระบอง และตะกร้อ
    โดยสมาคมกีฬาไทย ณ ท้องสนามหลวง ราวเดือนมีนาคมและเมษายน
    ในปีนี้สนามคมตะกร้อจากปีนัง ประเทศมาเลเซีย
    ได้เชื่อมความสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน
    ได้มีการแข่งขันตะกร้อของทั้งสองประเทศ
    นักกีฬาทีมชาติไทยมีความถนัดในการเล่นตะกร้อแบบกติกาไทย ส่วนนักกีฬาทีมชาติมาเลเซีย
    มีความถนัดในการเล่นตะกร้อแบบกติกามาเลเซีย คณะกรรมการจัดการแข่งขัน
    จึงได้กำหนดกติกาในการแข่งขันทั้งสองแบบ ผลการแข่งขันตะกร้อแบบกติกาไทย
    ปรากฏว่านักกีฬาทีมชาติไทยชนะนักกีฬาทีมชาติมาเลเซียสองเซตรวด
    ส่วนการแข่งขันแบบกติกามาเลเซีย
    ปรากฏว่านักกีฬาทีมชาติไทยแพ้นักกีฬาทีมชาติมาเลเซียสิงเซตรวดเช่นเดียวกัน
                                 ภายหลังการแข่งขันตะกร้อครั้งนั้น
    คณะผู้ประสานงานกีฬาตะกร้อของทั้งสองประเทศ
    ได้มีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือในการเผยแพร่กีฬาชนิดนี้ให้กว้างขวางเป็นที่นิยมต่อนาอารยประเทศ
    จึงได้ตกลงร่วมกันกำหนดชื่อกีฬานี้ขึ้นใหม่
    ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ใช้ชื่อไม่เหมือนกัน ประเทศไทยใช้ชื่อว่า
    กีฬาตะกร้อ ส่วนมาเลเซียใช้ชื่อว่า ซีปัก รากา ซึ่งคำว่า รากา นั้น แปลว่าตะกร้อนั้นเอง
    คณะกรรมการประสานงานหรือสมาคมกีฬาของทั้งสองประเทศ จึงได้นำคำว่า
    SEPAK
    ของมาเลเซีย
    มารวมกับคำว่า ตะกร้อ ของประเทศไทย รวมเป็นคำว่า
    SEPAK –
    TAKRAW
    หรือ
    เซปักตะกร้อมาตราบเท่าทุกวันนี้
    และกีฬาเซปักตะกร้อได้บรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
    ประเทศมาเลเซีย และบรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓
    ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน



    ปัญหามาตรฐานการเล่นกีฬาของไทย

                    ปัญหามาตรฐานของไทยในการเล่นกีฬา
    มีปัญหาและปัจจัยหลายประการที่นักกีฬาไทยเล่นกีฬากันได้ไม่ดีเท่าที่ควรพอสรุปได้ดังนี้

                    ๑.      ขาดงบประมาณที่จะดำเนินการต่างๆ
                    ๒.   
    ผู้เล่นไม่มีความอดทนต่อการเล่นซ้ำ ๆ ซาก

                    ๓.   
    สนามฝึกซ้อมไม่เพียงพอ
    ไม่มีใครจัดหาอุปกรณ์ให้

                    ๔.   
    ขาดการสนับสนุนอย่างแท้จริงจากผู้บริหาร
    หน่วยงานต่างๆ แม่กระทั่งรัฐบาล

                    ๕.   
    การเล่นกีฬาของไทย ไม่ชอบเล่นตามมาตรฐาน
    ทำให้เกิดการเบื่อหน่ายในการเล่นซ้ำ ๆ ซาก ๆ

                ๖.    
    ไม่มีใครสอนให้ถูกต้องอย่างแท้จริง
    เท่าที่เล่นได้อยู่ทุกวันก็เนื่องจากบุคคลนั้นชอบจำเขามาเล่นและเล่นเองโดยพลการ

    วิธีแก้ไข

          ๑.      จัดตั้งโรงเรียนสอนขึ้นพื้นฐาน
    ๒.    จัดหาสนามฝึกซ้อมให้เพียงพอ
    ๓.   
    หน่วยงานต่างๆ
    ต้องช่วยกันสนับสนุน

    ๔.
        จัดครูฝึกสอนที่มีความสามารถในการฝึกสอนได้
    ๕.   
    รัฐบาลจะต้องตั้งงบประมาณพิเศษให้เหมือนประเทศอื่นๆ
    ที่สนับสนุนด้านกีฬา

    คุณสมบัติของนักกีฬา

                    การเล่นกีฬาทุกชนิด
    เมื่อผู้เล่นได้ศึกษาเล่าเรียน ฝึกฝนทักษะต่างๆ
    จากอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถถ่ายทอดวิชาให้แก่ศิษย์ทุกอย่าง
    บางคนเล่นได้เก่งจนเป็นนักกีฬาตะกร้อได้ แต่จะให้เก่งดีเด่นไปทุกคนก็หาไม่
    ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปนิสัยที่เอาจริงเอาจังหรือไม่
    บางคนเล่นมาตั้งแต่เด็กจนแก่ก็เอาดีไม่ได้ บางคนลงเล่นไม่กี่ปีก็เป็นดาวเด่นขึ้นมา
    ที่เรียกกันว่ามีพรสวรรค์รวมทั้งพีพรแสวง คือได้ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น
    ฉะนั้นคุณสมบัติของนักกีฬาโดยทั่วไป ควรมีดังนี้

          ๑.      เป็นคนตรงต่อเวลา
    ๒.    ไม่เป็นคนที่อวดดื้อถือดี
    ๓.    ไม่เป็นคนที่สังคมรังเกียจ
    ๔.    ไม่เป็นคนที่ติดสุราหรือยาเสพติด
    ๕.    เชื่อฟังการบังคับบัญชาของผู้ฝึกสอน
    ๖.     เป็นคนที่เคารพต่อสิทธิของบุคคลอื่น
    ๗.    เป็นคนที่ขยันหมั่นเพียรและเอาใจใส่
    ๘.    เป็นคนที่มีความประพฤติแบะมารยาทเรียบร้อย
    ๙.    
    เป็นคนที่มีขีดความสามารถในกีฬานั้น ๆ
    สูงพอ

    ๑๐. 
    เป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว
    ไม่เอาเปรียบคนอื่นๆ

    ๑๑.
      เป็นคนที่ไม่ก่อกวนและก่อให้เกิดความแตกแยกความสามัคคีในหมู่คณะ